ประวัติโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ปุ

โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ปุ นำเสนอจุดเน้น การประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา
โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ปุ  ก่อตั้งเมื่อวันที่  1  ตุลาคม  2481  ตั้งอยู่ เลขที่  19/1 หมู่ 2 ตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดทำการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6มีพื้นที่ จำนวน  5  ไร่  50  ตารางวา  อยู่ห่างจากจังหวัดลำปาง  ประมาณ  120  กิโลเมตร
ข้อมูลเขตบริการโรงเรียน
1. บ้านท่าไม้  หมู่ 1  ประชากร  501  คน ชาย  225  คน  หญิง  276  คน
2. บ้านแม่ปุ หมู่ 2     ประชากร  291  คน ชาย  115  คน  หญิง  176  คน
3. บ้านโป่งขาม หมู่ 4 ประชากร  335  คน ชาย  163  คน  หญิง  172  คน
4. บ้านแม่ปุ หมู่ 6     ประชากร  456  คน ชาย  202  คน  หญิง  254  คน
สถานที่ โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ปุ
- พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
- อาคารเรียนก่อนประถมศึกษา ( อนุบาล 1 – 2 )
- อาคารเรียนประถม ( ป.1 – ป.4 )
- อาคารเรียนประถม ( ป.5 – ป.6 )
- สนามเด็กเล่น
- โรงเรือนแปรงฟัน
- โรงอาหาร และอาคารอเนกประสงค์
- ห้องสมุดโรงเรียน
- ศูนย์อาเซียน
เอกลักษณ์โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ปุ
“ ผู้เรียนมีสุขภาพดี ”
- คุณหมอให้ความรู้เรื่องฟัน
- นักเรียนออกกำลังกายบริหารก่อนเข้าเรียน
- อบรมโรงเรียนห่วงใยใส่ใจสุขภาพ
- ตรวจสุขภาพปากและฟัน
ปรัชญาโรงเรียน
ปัญญา  โลกัสมิง  ปัชโชโต  (  ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก )
คำขวัญโรงเรียน
สรรค์สร้างความรู้  มุ่งสู่มาตรฐาน  บริหารองค์รวม  ร่วมอนุรักษ์สืบสานประเพณี

พันธกิจ
- จัดการศึกษาให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- นักเรียนได้รับการพัฒนา ตามเกณฑ์มาตรฐานทุกสาระการเรียนรู้
- จัดการเรียนรู้ เน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์
- จัดบริการอาหารกลางวัน และบริการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ให้กับนักเรียนทุกคน
- จัดกิจกรรมอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
- จัดกิจกรรมที่ให้ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- จัดกิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สีประจำโรงเรียน      สี  แดง  ขาว
ดอกไม้ประจำโรงเรียน    ดอกราชพฤกษ์  ( ดอกคูณ )
วิสัยทัศน์
ชุมชนร่วมพัฒนา  รักษาสุขภาพดี เชิงประจักษ์ อนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนา  รักษาคุณธรรม  นำความรู้สู่อาเซียน  พากเพียรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ความคิดเห็น